สรุปเนื้อหากลางภาค
สรุปกลางภาค เดือนที่ 1
1.1 Mindset & กลยุทธ์การเติมเงินในพอร์ต
จำนวนเงินที่เติมเข้าไปในพอร์ตเท่าไหร่นั้น เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่อาจตัดสินได้ว่าคุณจะประสบความสำเร็จกับการเทรดForexได้หรือไม่ ซึ่งทาง JSP จะขออธิบายกฏเกี่ยวกับMindsetและการเติมเงินเข้าพอร์ตพร้อมด้วยเหตุผลว่าทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น
กฎข้อที่1 ห้ามนําเงินเก็บทั้งหมดที่มีเติมเข้าไปในพอร์ต เงินที่จะเติมเข้าพอร์ตควรไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของเงินเก็บทั้งหมด ที่แนะนำคือไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินเก็บทั้งหมด
เพราะว่า ถ้าเราเติมเงินเก็บเข้าไปในพอร์ตทั้งหมด จะกลายเป็นการสร้างความเสี่ยงที่สูงกว่าปกติ เพราะสำหรับการเทรดforexนั้น ปัจจัยเรื่องสภาพจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ ต่อให้มีวิธีการเทรดหรือระบบการเทรดที่ดีแค่ไหน ใจของคนเราก็ไม่ได้แข็งแกร่งขนาดนั้น ซึ่งเมื่อในพอร์ตเป็นเงินเก็บทั้งหมดที่เรามี จะทำให้เวลาเสียเงิน จะมีผลต่อสภาพจิตใจมาก ทำให้มีโอกาสที่เวลาเทรดเสีย จะเกิดการใจร้อน อยากจะเอาคืน ซึ่งถ้าคุมไม่อยู่ อาจเกิดการOvertradeและนําไปสู่การล้างพอร์ตได้
อีกทั้งนักเทรดมือใหม่ส่วนใหญ่ ในช่วงแรกมักจะเทรดไม่ได้กำไรเพราะขาดความรู้และประสบการณ์ เพราะฉะนั้น การมีเงินในพอร์ตน้อย ก็เพื่อให้เราเสียเงินน้อยและอยู่รอดในตลาดได้นานพอที่จะเรียนรู้และเก็บประสบการณ์ ซึ่งในช่วงแรก ทางJSP แนะนำให้โฟกัสกับการเรียนรู้การเทรดไปก่อน อย่าคิดเรื่องทำกำไร
กฎข้อที่2 จงอย่าเลิก
มีสถิติอยู่ว่า 95% ของคนที่เข้ามาในตลาด ยอมแพ้ต่อการเทรด เพราะว่าการเทรดForexมันไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด ไม่ต่างจากวิชาชีพอื่นๆ การเทรดเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการศึกษาและเก็บประสบการณ์ ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คุณรวยภายในเวลาไม่กี่วัน ในทางกลับกัน ต่อให้คุณไม่เก่ง หากใช้เวลาฝึกฝนฝีมือการเทรดและพยายามสั่งสมประสบการณ์ ขอเพียงแค่คุณไม่ยอมแพ้ สักวันคุณก็จะเก่งและประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
1.2 Dow theory (ทฤษฎีดาว)
ก่อนอื่นจะอธิบายประโยชน์ที่จะได้จากการเรียนรู้เรื่องทฤษฏีดาว
1.สามารถเข้าแบบfollow trend ได้อย่างแม่นยํา
2 สามารถระบุจุดกําเนิดของ trend ได้
3.สามารถประเมินจุดกลับตัวของ trend ได้อย่างแม่นยํา
4.สามารถเพิ่มเปอร์เซ็นชนะในการเทรดได้และเพิ่มpipที่ได้ในแต่ละครั้ง
ทฤษฎี dowเป็นทฤษฎีที่เป็นหัวใจหลักของการเทรดในทุกตลาด คิดค้นในศตวรรษที่19 โดยคนที่ชื่อว่า Charles H Dow และว่ากันว่าเป็นทฤษฎีที่เป็นต้นกําเนิดของTechnical analysis
เหตุผลที่ทฤษฎีนี้ยังมีการใช้จวบจนถึงปัจจุบัน ก็เพราะว่ามันมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าสภาพตลาดจะเป็นอย่างไรก็ตาม
เนื้อหาของทฤษฎีดาวมีอยู่ด้วยกัน 6 ข้อ ดังต่อไปนี้
- กราฟสะท้อนปัจจัยทุกอย่างของตลาดอยู่แล้ว
เรตราคาบนกราฟปัจจุบันนั้นสะท้อนทุกปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดforexไว้แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราฝึกแค่Technical analysisก็จะสามารถอ่านตลาดได้ 100%
Technical analysisทำได้แค่แสดงแนวโน้มความน่าจะเป็นที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดจากการคำนวณข้อมูลราคาในอดีตเท่านั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทํานายอนาคตได้100เปอร์เซ็นต์
2.การเคลื่อนไหวของตลาดหรือtrend
มีอยู่ 3 รูปแบบ. ซึ่งทางJSP ก็ตีความข้อนี้ไว้ดังต่อไปนี้
2.1 trendระยะยาว ดูกราฟไทม์เฟรมระดับ day week
2.2 trendระยะกลาง ดูกราฟไทม์เฟรมระดับ 4h
2.3 trendระยะสั้น ดูกราฟไทม์เฟรมตํ่ากว่า1h เช่น 30m 15m 5m
ในเทรนระยะยาวก็มีเทรนระยะกลาง และเทรนระยะกลางก็มีเทรนระยะสั้น ขอยกตัวอย่างดังนี้
สมมุติว่าเป็นเทรนขาลง ไทม์เฟรมระยะยาว ข้างในเทรนด์ขาลงใหญ่(เส้นสีฟ้า) จะประกอบด้วยเทรนระยะกลางขาขึ้น 1 แท่ง และเทรนระยะกลางขาลงอีก 1 แท่ง(เส้นสีเขียว) และภายในเทรนระยะกลาง ก็มีเทรนระยะสั้น(เส้นสีม่วง)จำนวนนับไม่ถ้วนซึ่ง
การแยกแยะระยะของเทรนสำคัญมาก และที่สําคัญกว่าคือเรารู้ว่าตัวเองกำลังเทรดในเทรนระยะไหนอยู่ อย่างเช่น เราต้องการเทรดเทรนระยะกลาง เพราะฉะนั้นก็จะเทรดตามคลื่นในกราฟไทม์เฟรม 4 H เป็นต้น
3.Trend แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ
ช่วงที่1 ช่วงสะสมแรง เป็นช่วงที่เทรนเพิ่งกลับตัวใหม่ๆ จะเป็นช่วงมืออาชีพพยายามเข้าเทรด เพราะเห็นว่าเป็นจุดกลับตัวของเทรน
ช่วงที่2. ช่วงระเบิดตัว เป็นช่วงfollowเทรนและราคาจะวิ่งแรงที่สุด จึงทําให้เวลาเทรดช่วงนี้ จะได้pipเยอะที่สุด
ช่วงที่3 ช่วงหมดแรง เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่มองว่าราคาสูงแล้ว และมือสมัครเล่นมักจะชอบเข้าบ่อย(การเข้าปลายเทรน)
แนะนำว่าให้เข้าในช่วงที่2 เพราะเป็นช่วงที่เทรนชัดเจนและได้ pipเยอะที่สุด ซึ่งระบบการเทรดmec zone systemของJSP เน้นเข้าในช่วงที่2อยู่แล้ว
- ปัจจัยทุกตัวต้องมีความสอดคล้องกัน
ปัจจัยต่างๆในตลาดควรจะมีความสอดคล้องกัน หากปัจจัยตัวนึงบอกว่ากราฟกำลังจะเป็นขาขึ้น แต่ปัจจัยตัวอื่นไม่บอกแบบเดียวกัน นั่นหมายความว่าตลาดอาจจะยังไม่เป็นขาขึ้นที แต่ถ้าปัจจัยทุกตัวบอกว่าจะเป็นขาขึ้นเหมือนกัน ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าตลาดจะเป็นขาขึ้น ยกตัวอย่างเช่นว่าgbpjpy เป็นขาขึ้นเลยอยากbuy แทนที่จะดูแค่gbpjpy เราควรจะดูคู่เงินgbpอื่นๆว่าเป็นขาขึ้นด้วยไหมนั่นเอง ซึ่งถ้าคู่เงินgbpตัวอื่นเป็นขาขึ้นเหมือนกัน ก็จะทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่าโพสิชั่นbuyจะทำกำไรได้
- ถ้าตลาดจะเกิดเทรน ต้องมีปริมาณ(Volume)ยืนยัน
Volume ในที่นี้หมายถึงจำนวนคนที่ทำการซื้อขายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งข้อนี้ค่อนข้างใช้ได้ยากในตลาดForex เพราะสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ทำให้มีจำนวนVolumeมากตลอดเวลา
- Trendจะไม่กลับตัวจนกว่าจะมี Pattern กลับตัวที่ชัดเจน
ในกรณีของขาขึ้น ตราบใดที่ไม่ทะลุlowที่เป็นจุดพักตัวที่ทําnew high (เลข4) เทรนก็ยังเป็นขาขึ้นต่อไป
ในกรณีของขาลง ตราบใดที่ไม่ทะลุhighที่เป็นจุดพักตัวที่ทําnew low (เลข4) เทรนก็ยังเป็นขาลงต่อไป
กลับกัน, เมื่อไหร่ที่ราคาทะลุ highที่เป็นจุดพักตัวที่ทําnew low (เลข4) หรือ lowที่เป็นจุดพักตัวที่ทําnew high (เลข4) หมายความว่ามีโอกาสที่ราคาจะเป็นไซด์เวย์หรือกลับตัว
ซึ่งทางJSPก็มีคำแนะนำสำหรับมือใหม่อยู่ 3 อย่าง
1.จนกว่าจะสิ้นสุด up เทรนก็ buy
2.จนกว่าจะสิ้นสุด down เทรนก็ sell
3.เป็นsidewayก็รอให้เกิดเทรนแล้วค่อยเข้าตามเทรน
1.3 วิธีการตี แนวรับแนวต้าน
แนวต้าน และ แนวรับ เป็นการตีเส้น ในแนวนอน (Horizontal Line) ไว้ที่ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง เพื่อใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงโซนราคาที่สูงหรือต่ำ ทำหน้าที่เหมือนพื้นหรือเพดานที่ราคาจะวิ่งมาชนและสะท้อนกลับไป ในกรณีที่ราคาวิ่งทะลุเส้นเหล่านี้ จะเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “Breakout”
แนวต้าน (Resistant) เป็นการตีเส้นแนวนอนไว้ด้านบน เหนือแท่งราคาขึ้นไป เพื่อใช้เป็นแนวบ่งบอกถึงโซนราคาที่สูง ทำหน้าที่เหมือนเป็นเพดานของราคา
แนวรับ (Support) เป็นการตีเส้นแนวนอนไว้ด้านล่าง ต่ำกว่าแท่งราคาลงไป เพื่อใช้เป็นแนวบ่งบอกถึงโซนราคาที่ต่ำ ทำหน้าที่เหมือนเป็นพื้นของราคา
ราคาที่แนวต้าน นักลงทุนบางส่วนที่เรียกว่า “กลุ่มอยากขาย” มองว่าราคาที่ตรงนี้เป็นราคาที่สูงแล้ว พอราคาขึ้นมาถึงที่ระดับราคานั้น นักลงทุน“กลุ่มอยากขาย” ก็จะขายหุ้นหรือออกโพสิชั่น ทำให้เกิดภาพที่กราฟวิ่งไปชนเส้นแนวต้านแล้วกลับลงมา
แต่จะมีนักลงทุนอีกกลุ่มที่ เข้าไปรับซื้อราคาที่ตกลงมา เรียกว่า “กลุ่มอยากซื้อ” ก็จะเข้าซื้อเพราะเชื่อว่าราคายังไปสูงกว่านี้ได้อีก ซึ่งหากกลุ่มอยากซื้อมีจำนวนมากกว่าอยากขาย ก็จะทำให้เกิดเหตุการณ์ราคาวิ่งทะลุแนวต้นขึ้นไป
จะมีนักลงทุนอีกกลุ่ม ที่เป็น “กลุ่มวางตัวเป็นกลาง” พวกนี้จะรอดูท่าที เมื่อเห็นว่าราคาผ่านแนวต้านได้แล้ว ก็จะตัดสินใจเข้ามาช่วยซื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้นมักจะพบว่า เมื่อราคาหุ้นข้ามแนวต้านได้ ปริมาณการซื้อจะเพิ่มขึ้น และราคาหุ้นจะวิ่งขึ้นไปอย่างเร็วกว่าเดิม
เทคนิคการตีแนวรับแนวต้านของJSP
1.เริ่มตีแนวรับแนวต้านจากTimeframeใหญ่ก่อน เช่น 4H Day
2.ตีที่ปลายหนวดและราคาปิด
3.ตีแนวรับให้เป็นโซน ไม่ใช่เส้นบางๆ
สิ่งที่มือใหม่ชอบทําผิดพลาดคือ
1.ตีเส้น แตะเส้นแล้วเข้าเลย
2.ตีแนวรับแนวต้าน แล้วเมื่อราคาทะลุ นึกว่าเส้นนั้นไม่ได้ผลเลยลบออก
1.5 “M : Moving average”
M หรือ Moving average เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบการเทรด MEC Zone
ในบทนี้ จะเน้น M หรือ Moving average อย่างเดียวก่อน ต้องขอบอกก่อนว่า การใช้ระบบ MEC อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จำเป็นต้องใช้ M E และC ควบคู่กัน ซึ่งจะสอนการใช้แบบควบคู่กันในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
ระบบMEC Zone ของJSP จะใช้ MA ชนิด EMA (Exponential Moving Average) ทั้งหมด 5 เส้น ซึ่งจะมีดังนี้
- EMA 10 สีขาว ใช้ดูเทรนระยะสั้น
- EMA 25 สีน้ำเงิน ใช้ดูเทรนระยะสั้น
- 3. EMA 75 สีเขียว ใช้ดูเทรนระยะกลาง
- 4. EMA 180 สีเหลือง ใช้ดูเทรนระยะยาว
- 5. EMA 200 สีแดง ใช้ดูเทรนระยะยาว
ถ้าราคาอยู่เหนือเส้น ema 200 ใน TF4H / Day และ MA หันหัวขึ้น จะเป็น uptrend ถ้าราคาอยู่ใต้เส้น EMA 200 ใน TF4H / Day และ MA หันหัวลง คือ downtrend
จากสถิติการ Back test ระยะทำการของMA 200 ค่อนข้างกว้าง บางทีราคาไปไม่ถึงเส้น 200 นั่นเป็นเหตุผลที่เพิ่มเส้น 180 ขึ้นมา
เมื่อเกิดกรณีที่ บริเวณ MA 180/200 ถูกชนเป็นครั้งที่ 2 จากผลสถิติback test กว่า 75% ในโซนราคา นี้ มักจะถูกสะท้อนกลับไป มันจึงสามารถใข้เป็นจุดเข้าออกที่ดีได้
เมื่อเทรนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะ uptrend หรือ downtrend, ราคาถูกชนที่เส้น MA ไหนมากที่สุด ก็ใช้เส้นนั้นเป็นจุดเข้า
สำหรับจุดTP กรณีขาBuy ก็จะใช้Highล่าสุดเป็นเกณฑ์ กรณีขาSell ก็จะใช้lowล่าสุดเป็นเกณฑ์
วิธีการเข้าโพสิชั่นขั้นพื้นฐานในกรณีที่ใช้ M อย่างเดียว มี4 stepดังนี้
step 1.ดูใน Timeframe 4H และ 1D ว่าเป็น Uptrend หรือ Downtrend
step 2.มาดูใน Timeframe ว่า MA ไหนถูกชนบ่อยสุด และเมื่อราคากลับมาชนเส้นนั้น ก็มองหาแนวรับแนวต้าน
step 3.มองหาว่าเส้นแนวรับแนวต้าน “หรือที่โค้ชชิเรียกว่าเส้นทฤษฎี dow“ อยู่ไหน จากนั้น ตั้งจุดCut loss ที่เส้นทฤษฎี Dow ตั้งจุดTake profit ที่ Low หรือ high เดิม
step 4.ดูค่า R ซึ่งจุดเข้าที่ดีต้องมีมากกว่า 0.7 ( วัดด้วยด้วยอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Long /short position )