สรุปเนื้อหากลางภาค
สรุปเดือน4 ครึ่งแรก
4.1 4 จุดสําคัญที่ทำให้เทรดfollow trendและใช้ระบบMEC zone systemได้ดีขึ้น
ถึงแม้ระบบที่ใช้จะเหมือนกัน แต่ผลการเทรดก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน เหตุผลมีอยู่หลายข้อ แต่สำหรับคนที่ใช้ระบบนี้แล้วไม่ค่อยได้ผล หลักๆแล้วจะเป็นเพราะ 3 ปัจจัยต่อไปนี้
1.เข้าซื้อขายเร็วเกินไป
- เข้าซื้อขายช้าเกินไป
3.ยังศึกษาระบบและซ้อมระบบไม่พอ จนวิเคราะห์ผิด
สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่าปัญหาของตัวเองอยู่ในข้อไหน เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาตรงจุด
ต่อมา, จะพูดถึง 4 ข้อที่จะทำให้คุณเทรดFollow trendได้ดี ไม่ว่าคุณจะใช้ระบบ MEC Zone หรือระบบอื่น
- ดูทฤษฎีดาว (เทรน แนวรับแนวต้น เป็นต้น) ในไทม์เฟรมใหญ่
เพราะการเทรดตามเทรนใหญ่ย่อมได้เปรียบกว่าเสมอ และทําให้ออเดอร์ที่เข้ามีโอกาสโดนCut lossน้อยลงนั่นเอง
เช่น ถ้าเทรนในไทม์เฟรมใหญ่เป็นขาขึ้นแล้วยังไม่ทะลุจุดพักตัวที่ทำ New High เราก็ควรพยายามหาแต่จุดbuy ไม่เทรด Sell เป็นต้น
- ระวังจุดพักตัวของไทม์เฟรม day และ week
เพราะเป็นแนวรับแนวต้นที่มีโอกาสหยุดราคาวิ่งได้สูง จึงไม่ควรเทรดโดยหวังว่าโซนราคานี้จะBreak out
- ดู MA ที่ใช้ในระบบMEC zone
จากประสบการณ์ของโค้ชชิ เวลาที่เทรนมีองศาความชันกําลังดีและจะไปต่อนั้น ราคามักจะอยู่ระหว่างเส้น MA 25 – 75
และการเทรดสวนไทม์เฟรมใหญ่อย่าง day week จะทำให้เราเสียเปรียบ เพราะMAในไทม์เฟรมใหญ่สามารดันราคากลับได้ แต่ถ้าเข้าตามเทรนใหญ่ ยิ่งเส้นMAอยู่มานานแค่ไหน ก็จะยิ่งได้เปรียบ เพราะเส้น MA ในไทม์เฟรมใหญ่เส้นนั้น จะช่วยดันให้ราคาขึ้นไปถูกทางนั่นเอง
- เมื่อราคาขึ้นมาถึงโซนราคาที่เราจะเข้าออเดอร์ ควรรอให้มีแพทเทิร์นกลับตัวในไทม์เฟรม 5 นาทีก่อน
4.2 MEC Zone system ฉบับสมบูรณ์ part 1
วิธีการใช้ MEC Zone system ฉบับสมบูรณ์จะแบ่งเป็น 4 Part ด้วยกัน
- เรียนรู้เรื่อง Fractal ในการย่อไทม์เฟรม เพื่อหาจุดกลับตัวที่ดีที่สุด
- เรียนรู้เรื่อง Fractal ของ แพทเทิร์นกราฟ
- เรียนรู้เรื่อง Fractal ของ Price Action ใน Channel line
- นำเรื่องที่เรียนทั้งหมดมาสาธิต เพื่อหาจุดเข้าซื้อที่ดีที่สุดและจุดออกที่จะสร้างกำไรให้มากที่สุด
โดยบทนี้จะเริ่มต้นจาก Fractal ของ Eliot wave ก่อน
สาเหตุที่ต้องรู้เรื่อง Fractal เพราะจะใช้หาจุดกลับตัวที่ดีที่สุดในกราฟไทม์เฟรม 5 นาที ช่วยให้เราทำผิดพลาดยากขึ้น และสามารถตอบสนองกับตลาดได้ทันทุกสถานการณ์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการเทรดได้
จาก ภาพตัวอย่างด้านบน ภายในคลื่น 2-3 เส้นสีแดงของไทม์เฟรม 1 ชั่วโมง (1H) ซึ่งประกอบด้วยคลื่น 0-1 2-3 และ 4-5 ของไทม์เฟรม 5 นาที (5M)
สิ่งที่เราต้องทำ คือเมื่อเกิดคลื่น 2-3 หรือ 4-5 ในไทม์เฟรม 1H ก็ให้หาจุดซื้อขายที่คลื่น 2-3 และ 4-5 ในไทม์เฟรม 5M
Fractal ของ Eliot wave คือการที่ 1 ช่วงคลื่นของElliot wave (0-1, 1-2, 2-3, 3-4, 4-5) ถูกประกอบขึ้นมาจากคลื่นElliot waveทั้ง 5 คลื่นของไทม์เฟรมที่เล็กกว่า
ยกตัวอย่างเช่น คลื่น 2-3 ของไทม์เฟรม 4H จะประกอบไปด้วยคลื่น 0-1 / 1-2 / 2-3 /3-4 /4-5 ของไทม์เฟรม 1H เช่นเดียวกันกับ คลื่น 4-5 ของไทม์เฟรม 4H ก็จะประกอบไปด้วยคลื่น คลื่น 0-1 / 1-2 / 2-3 /3-4 /4-5 ไทม์เฟรม 1H
การที่จะเข้าในจุดที่ดีที่สุดได้ เราต้องรู้จักประเภทของคลื่นReactionด้วยเช่นกัน โดยแบ่งประเภทของคลื่น Reaction ตามลักษณะของกราฟ ไว้ตามนี้
1.Reaction แบบเป็นเทรน
2.Reaction แบบ Sideway
3.Reaction แบบ Pattern เช่น Pennant หรืออื่นๆ เป็นต้น
ในกรณีของSwing trade จากภาพ จะเห็นว่าในคลื่น 5 คลื่นของไทม์เฟรม 4H จะมีโอกาสซื้อขายทั้งหมด 6 จุด ถ้าเข้าในไทม์เฟรม 1H ก็คือ คลื่น 0-1 / 2-3 / 4-5 ของไทม์เฟรม 4H โดยเข้าด้วยไทม์เฟรม 1H นั่นเอง
ในกรณีของDay trade ถ้าคุณดู 4H เป็นหลัก จุดซื้อขายก็จะมีทั้งหมด 12 จุด เพราะคลื่น 1 คลื่นของไทม์เฟรม 1H จะมีจุดซื้อขายที่คลื่น2-3 / 4-5 ในไทม์เฟรม 5M
ซึ่งการที่มองภาพใหญ่จากกราฟไทม์เฟรมใหญ่ เช่น DAY 4H ไล่ลงมาจนถึง 5M ได้ จะทำให้เราหาจุดซื้อขายที่แม่นยำมากขึ้น
4.3 3 ลักษณะการเทรดที่ทําให้ทําเงินไม่ได้ทั้งๆที่ตั้งใจศึกษา
1.เทรดสวนเทรนของไทม์เฟรมใหญ่
หลายคนคงบอกว่านี่เป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว แต่หนังสือการเทรดส่วนใหญ่มักจะสอนให้เราเน้นเทรดที่จุดกลับตัว
ซึ่งจุดกลับตัวนั้นปกติจะเกิดขึ้นบ่อยที่ไทม์เฟรมเล็ก คนส่วนใหญ่เลยสนใจแค่ดูแต่ไทม์เฟรมเล็ก สนแค่พฤติกรรมราคาที่แกว่งขึ้นลงแบบเร็ว จนพลาดเทรดสวนแทรนใหญ่ แล้วสุดท้ายก็โดนเทรนใหญ่กินCut lossไป
วิธีการแก้ไขข้อนี้คือ ใช้ทฤษฏีดาว และเส้นMA
ถ้าอยากจะเข้าในจุดกลับตัว ลองดูว่านเส้นMAในไทม์เฟรมนั้นๆว่า เส้นไหนคือองศาของเทรนในไทม์เฟรมนั้น แล้วรอให้หลุดองศาของเทรนก่อน ส่วนใหญ่ราคาที่หลุดจะกลับมา ซึ่งตอนที่กลับมานั่นแหละ คือจุดซื้อขายกลับตัวที่ดีสุด
2.ไม่ระบุคลื่นที่ตัวเองจะเล็งเทรด
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มือใหม่ทําพลาดบ่อย เราต้องระบุคลื่นที่เราจะเทรด ว่าเป็นของไทม์เฟรมไหนและกี่pip
ตามหลักจิตวิทยาแล้ว การที่ไม่ระบุนั้นจะทําให้การTake profitของเราแย่ลง สิ่งที่สําคัญมากกว่านั้นคือ ภาพอิมเมจตอนที่เราได้Take profit เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ว่า เราต้องรู้สึกให้ได้ว่าเวลาเจอแพทเทิร์นแบบนี้แล้ว หลังจากนั้นกราฟมักจะเป็นแบบนี้ต่อ
และอีกข้อนึงคือเล็งคลื่นที่ใหญ่เกินไป
คนส่วนใหญ่คิดเสมอว่าค่าRisk/Rewardยิ่งเยอะยิ่งดี ถ้าใช้ Channel line ก็อยากจะเล็งไปถึงสุดขอบ ซึ่งการที่เราตั้งTake profitจะทำให้โอกาสที่กราฟกลับตัวมาโดนCut lossเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งวิธีแก้ของเรื่องนี้ ทางJSPแนะนำให้ใช้วิธีการบริหารหน้าตักที่ทำให้ความเสี่ยงเป็นศูนย์ ซึ่งสอนไปแล้ว
- ด่วนตัดสินใจว่าเทรนกลับตัวแล้ว
มีหลายคนที่เสียเงินเพราะเข้าในจังหวะที่ราคาชนเทรนไลน์หรือเส้นMAทันที แต่มีหลายครั้งที่ราคาวิ่งทะลุไปบ้าง ทำFake break outบ้าง ซึ่งวิธีแก้ข้อนี้คือให้รอแพทเทิร์นกลับตัวในไทม์เฟรม 5M ก่อนนั่นเอง
4.4 Fractal คืออะไร
Fractal คือศัพท์ทางเรขาคณิตที่ใช้พูดถึงโครงสร้างของวัตถุที่มีความคล้ายตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น โครงสร้างเกล็ดหิมะ โครงสร้างของใบไม้ เป็นต้น
ในด้านการเทรด เป็นเรื่องของโครงสร้างกราฟที่กราฟในไทม์เฟรมใหญ่และกราฟในไทม์เฟรมเล็กมีลักษณะการเคลื่อนที่ที่คล้ายกัน เหมือนกับเรื่อง Elliot wave ที่สอนไปต้นเดือน 4 ซึ่งคลื่น 1 คลื่นของ Elliot wave ในไทม์เฟรมใหญ่มีคลื่น 5 คลื่นของไทม์เฟรมเล็กอยู่ ซึ่งเมื่อเราทำความเข้าใจในเรื่องนี้ได้ จะทำให้เราวิเคราะห์กราฟได้ดีขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดได้
4.5 MEC Zone system ฉบับสมบูรณ์ part 2
เรื่อง Fractal คือ หัวใจหลักที่จะเพิ่มความแม่นยำในการเข้าออกของระบบ MEC Zone
ซึ่งในส่วนของบทนี้จะนำเอาเรื่อง Fractal มาใช้กับ Role reversal ของ M พร้อมทั้งการใช้เรื่อง Fractal ในการแก้ปัญหากรณีที่หา MA ที่เป็น Role reversal ไม่เจอในไทม์เฟรม 1H
สำหรับ Day trade เนื่องจากได้เรียน Fractal ไปแล้ว จะเปลี่ยนรูปแบบการเทรดจากการเข้าคลื่น 0-1 เป็นเข้าด้วยคลื่น 2-3 ที่ซ้อนทับกันกับ Role reversal ในไทม์เฟรม 5M
เริ่มด้วยเรื่องการหา Role reversal ในไทม์เฟรม 5M
วิธีการหา คือ เริ่มจากหาเส้น MA ที่เป็น Role reversal ในไทม์เฟรม 1 ชั่วโมง และ เมื่อราคากลับมาชนบริเวณนั้น ก็ย่อไทม์เฟรมลงไปที่ 5 นาที เพื่อหาจุด Role reversal ที่ซ้อนทับกันกับคลื่น 2-3 การทำแบบนี้จะช่วยลดโอกาสเข้าซื้อขายด้วยสัญญาณ Fake ได้ เพราะยืนยันแล้วว่าจุดที่เข้านั้น ตรงกันกับบริเวณที่เกิด Role reversal ในไทม์เฟรม 1 ชั่วโมงนั่นเอง
ต่อไปเป็นวิธีแก้ปัญหากรณีที่หา MA ที่เป็น Role reversal ไม่เจอ ในไทม์เฟรม 1H
Step 1 กรณี Swing trade เช็คว่าจุดที่เราเข้า เป็น คลื่น 2-3 / 4-5 ของไทม์เฟรม 4H หรือไม่
Step 2 วาด Elliot wave 5 คลื่น เริ่มจากไทม์เฟรม 1H ก่อน
Step 3 ตี Fibonacci retracement แล้วปรับยอดของคลื่น 2-3 ไปอยู่ที่ 161.8 และปรับยอดของคลื่น 4-5 ที่ 200
Step 4 หาเส้น MA ที่ชนบ่อยที่สุด รอให้แท่งเทียนกลับมาชนเส้น MA อีกครั้งแล้วเข้า
Step 5 กรณี Day trade หาแพทเทิร์นกลับตัวในไทม์เฟรม 5 นาที
Step 6 เมื่อไหร่ที่ Break out ที่ Neck line ของแพทเทิร์น รอให้เกิดคลื่น 0-1 ในไทม์เฟรม 5 นาที จากนั้น ตี Fibonacci retracement
Step 7 กรณีที่เข้าด้วยMarket order เมื่อราคามาสัมผัสกับ 61.8 / 38.2 ของ Fibonacci retracement หาแพทเทิร์นกลับตัวในไทม์เฟรม 5 นาทีแล้วเข้า
ถ้ามีเส้น MA ที่เกิด Role reversal อยู่ในบริเวณนั้นด้วย ก็สามารถใส่ Lot size เพิ่มได้
กรณีที่เข้าด้วย Limit order วาง Buy limit ก่อน 61.8 2pip / Sell limit ก่อน 50 2pip
Step 8 ตั้งCut loss ที่ครึ่งนึงของเส้น 23 ของFibonacci ในกรณี BUY
ตั้งCut loss ที่ครึ่งนึงของเส้น 78 ของFibonacci ในกรณี Sell
Step 9 กรณีที่เข้าด้วยคลื่น 2-3 ตั้ง Take profit ที่ 161.8 โดยวัดจากคลื่น 0-1
กรณีที่เข้าด้วยคลื่น 4-5 ตั้ง Take profit ที่ 138.2 โดยวัดจากคลื่น 2-3
Step 10 พอหมด 5 คลื่น ก็ไปหาคู่เงินอื่นจนกว่าจะนับคลื่น 0-1 ได้
ปกติแล้ว Fractral ที่จะเข้า ถ้าเป็นคลื่น 2-3 ในไทม์เฟรม 1H จุดที่เข้าได้ตามระบบ MEC Zone ก็คือจุดที่เกิด Role reversal และเป็นจุดที่เกิดคลื่น 2-3 ในไทม์เฟรม 5 นาที
พูดง่ายๆ คือ วิธีการตอบสนองเมื่อเราหา Role reversal ในไทม์เฟรม 1H ไม่เจอ เราก็แค่ย่อไทม์เฟรมลงมา