สรุปเนื้อหาปลายภาค
สรุปเดือน 3 ครึ่งหลัง
3.6 E+C
ในบางช่วงเวลา ก็จะมีที่ใช้ M กับตลาดไม่ได้ ซึ่งมีสาเหตุอยู่ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.หาเส้น MA ที่ชนบ่อยไม่เจอ
2.ไม่มีเส้น MA ที่เป็นจุดพักตัวที่ทำ New high หรือ New low ทำให้หาจุดเข้า Role reversal ไม่ได้
ในกรณีนี้ เราจะใช้ 2 ปัจจัยอย่าง E+C เพื่อให้สามารถเทรดได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เส้น MA
โดยเริ่มจากตี C ก่อน แล้ววาดคลื่น E ขึ้นมาภายในกรอบของ C จากนั้น หาจุดเข้าในบริเวณ Fibonacci box space ของคลื่น 2-3 และ 4-5 ที่ซ้อนกันกับขอบ C ซึ่งตรงจุดนั้นคือจุดเข้าที่ดีที่สุดของระบบ E+C อันนี้
ขั้นตอนของการเทรดแบบ E+C มีดังต่อไปนี้ (อ้างอิงจากภาพประกอบข้างต้น)
- หลังจากที่มีการbreak out จุดพักตัวที่ทำ New low หรือ New High แล้วเกิดเป็นคลื่น 0 – 1 ให้ตี C ขึ้นมา
- วัดคลื่น Elliot wave โดยการตี Fibonacci retracement ประกอบ แล้วรอให้คลื่นกลับมาพักตัว จนเกิดคลื่น 2 – 3
- เมื่อกลับมาพักตัว ชนกับเส้น 61.8 – 50 – 38.2 ที่พร้อมกันกับการชนขอบ C นั่นคือ โอกาสในการซื้อขายที่ดีที่สุดของคลื่น 2 – 3
- ตั้งจุดCut loss ไว้ที่ครึ่งหนึ่งของ 23.0 Fibonacci retracement (ถ้าราคาลงมาต่ำกว่านั้นในกรณีขาลง หรือขึ้นไปมากกว่านั้นในกรณีขาขึ้น แสดงว่าคลื่นนั้นยังไม่ใช่ 2 – 3 อาจจะเป็น Side way)
- 5. จุด Take profit จะตั้งไว้ที่เส้น 8 โดยตีFibonacci retracementจากคลื่น 0-1
- เมื่อเกิดคลื่น 4-5 ขึ้น รอราคากลับมาพักตัวในโซนเส้น 61.8 – 50 – 38.2 ที่พร้อมกันกับการชนขอบ C นั่นคือ โอกาสในการซื้อขายที่ดีที่สุดของคลื่น 4-5 โดยในกรณีนี้ จุดCut loss จะอยู่บริเวณเลข 2 ของ E และตั้งจุดTake profit ไว้ที่ 138.2
3.7 วิธีการทบทวนการเทรด
ในการทบทวนการเทรด เราควรคิดเสมอว่าการเทรดนั้นไม่ใช่เกมตามหาคําตอบของคลื่นในตลาด แต่เป็นเกมที่เราต้องปรับคลื่นสมองของเราให้ตรงกับการเคลื่อนไหวของตลาด
และการที่เราจะทำแบบนั้นได้ เราจำเป็นต้องฝึกฝน และวิธีเดียวที่จะฝึกฝนในเรื่องนี้ได้ คือการบันทึกการเทรดและเอาการเทรดของเรามาทบทวน
และอีกหนึ่งวิธีทบทวนการเทรดที่ดีที่สุดคือ หลังจากที่ออก Position หรือ Order แล้ว ลองเฝ้าดูพฤติกรรมราคาต่อเพื่อตรวจเช็คคําตอบต่อ ว่าหลังจากที่เราทำการ Cut loss หรือ Take profit แล้ว จุด Cut loss หรือ Take profit ที่ตั้งนั้นใกล้หรือไกลเกินไป
เพราะการทำแบบนี้ จะทำให้เรามองเห็นความผิดพลาดหรือจุดที่สามารถปรับปรุงพัฒนาได้อีกของระบบการเทรดของตัวเอง
ซึ่งความคิดของคนทั่วไปจะเป็นด้านล่างนี้
- ก่อนเทรด ให้วางแผนการเทรด
- เทรดตามที่วางแผน
- เสียเงิน
- หาเหตุผลว่าทําไมถึงเสีย
แต่วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่จะช่วยให้เราพัฒนาได้เร็ว จะเป็นแบบนี้
- ก่อนเทรด ให้วางแผนการเทรด
- เทรดตามที่วางแผน
- เสียเงิน
- เฝ้าตลาดต่อเพื่อดูพฤติกรรมราคา แล้วเอามาเปรียบเทียบคําตอบกับหลักการของเรา ดูว่าต่างกันตรงไหน เช่น หลังโดน Cut loss แล้ว ราคาวิ่งกลับไปถูกทางที่ตั้งTake profit นั่นหมายความว่าเราใจร้อนรีบเข้าเกินไป ครั้งหน้าให้เข้าช้ากว่านี้ เป็นต้น
มือใหม่ส่วนใหญ่ ตอนเข้าorder จะสนใจแต่ตามหาแพทเทิร์นที่ใช้ในการเข้า แต่สิ่งที่เราควรทำคือการเขียนรายละเอียดการเทรด (scenario) เฝ้าพฤติกรรมราคา หลังจากนั้นเอามาเปรียบเทียบว่าตลาดวิ่งเหมือนกับที่คิดไว้หรือไม่ แล้วแก้ไขปรับปรุง
3.8 วิธีพิชิต Break out
Break out คือ การที่ราคา หรือ แท่งเทียนหลุดไปจากเรตราคาที่เทรดเดอร์สนใจ ซึ่งก็จะเป็นพวกแนวรับแนวต้าน เส้นNeck lineของแพทเทิร์น trend line Channel line เป็นต้น
ถ้าสามารถอ่านBreak outออก คุณก็จะตอบสนองต่อการกลับตัวของเทรนได้ ทําให้เปอร์เซ็นต์ชนะและpipที่ได้เพิ่มขึ้น
พฤติกรรมราคาหลัง Break out มีดังต่อไปนี้
1.ออกไปแล้วไม่กลับมาเลย
- Return move ออกไปแล้วกลับมาทดสอบอีกรอบ
เหตุผลที่หลังBreak out แล้วราคาวิ่งกลับมา มี 3 ข้อ (จะสมมุติว่าเป็นขาขึ้น)
- 1. คนที่เข้า Buy ไม่ทันตอน Breakout ไม่เข้าออเดอร์ตามทันที
- 2. คนที่เข้า Sell แล้วรอออกในจุดที่ปลอดภัย ก็คือแนวต้านเก่า ทำให้เวลาที่ราคามาโดนแนวต้านเก่า จะสะท้อนกลับไป เพราะขา Sell ออกตรงนี้เพื่อให้เสียเงินน้อยที่สุด
- 3. คนที่เข้าแบบระมัดระมัง มักจะเข้าในจุดนี้ เพราะการวิ่งสะท้อนแนวต้านเก่า จะทำให้เกิด Role reversal และทำให้การกลับเทรนชัดเจนยิ่งขึ้น
เส้นราคา (แนวรับแนวต้าน เทรนไลน์ เป็นต้น) ที่ทำหน้าที่สะท้อนราคาบ่อยแค่ไหน เวลาถูกBreak out แล้วราคาตกกลับมา จะมีโอกาสสูงมากขึ้นที่จะทำหน้าที่ตีราคากลับไป (Role reversal)
เวลาที่ Break out เสร็จ จะไม่ได้กลับเทรนทันที แต่แนวโน้มของเทรนจะเป็นไปได้ 3 แบบ มีดังต่อไปนี้
- เป็นเทรนเดิมต่อ แต่ในอีกองศาหนึ่ง
- กลับเทรน
- เป็นไซด์เวย์
การBreak out มีโอกาสเป็น Fake ได้ ซึ่งเหตุผลที่เป็นเช้นนี้มี 2 ข้อด้วยกัน คือ
- แนวรับแนวต้านที่ถูกBreak out อาจไม่ใช่เรตราคาที่ถูกสนใจมากนัก คุณอาจคิดไปเองว่าเป็นแนวรับแนวต้าน
- 2. อาจติดแนวรับแนวต้านในไทม์เฟรมใหญ่กว่า
ข้อควรระวังอีกข้อหนึ่ง คือ การ Break out ในไทม์เฟรมเล็กมีความหน้าเชื่อถือน้อยกว่าไทม์เฟรมใหญ่ เพราะมีโอกาสกลายเป็น Fake สูง ทางที่ดีควรรอให้แท่งเทียนในไทม์เฟรม 1Hขึ้นไปปิดราคาก่อน เพื่อยืนยันการBreak out และป้องกันการเจอ Fake
3.9 สอนหาปลา 2 คู่เงิน
ระบบ MEC Zone ใช้ได้กับทุกไทม์เฟรม จึงสามารถปรับให้เข้ากับ Life style ของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเทรด Day trade หรือ Swing trade ซึ่งความแตกต่างหลักๆของทั้งสองแบบอยู่ที่ระยะเวลาการถือออเดอร์
หลังจากที่เรียนไป 2 เดือน ระบบการเทรด MEC Zone จะสามารถแยกออกเป็นระบบ M+E, M+C, E+C, M+E+C ทำให้สามารถปรับการเทรดให้เข้ากับตลาดได้หลากหลายรูปแบบ และทำให้เราสามารถเลือกคู่เงินเทรดได้อย่างหลากหลาย มีจังหวะให้เข้าเทรดบ่อย ทั้งนี้ การจะเลือกระบบการเทรดให้เข้ากับตลาด ก็ต้องพึ่งความสามารถในการอ่านสภาพตลาดของตัวเทรดเดอร์เอง ซึ่งก็อยู่ที่การฝึกฝนและประสบการณ์