สรุปเนื้อหากลางภาค
2.1 3 phaseที่มือใหม่พบเจอในการเทรด
Phase 1 ตามหาระบบการเทรดที่เข้ากับตัวเอง
ปัจจัยที่บ่งบอกว่าระบบการเทรดที่ใช้อยู่เข้ากับตัวเองหรือไม่
– เปอร์เซ็นชนะสูงและได้pipเยอะ
– ใส่ Lot ได้อย่างมั่นใจ
– ในเวลาที่ตั้งจุดCut lossและTake profit เราสามารถตั้งได้อย่างมั่นใจ
วิธีตามหา Indicator ที่เราชอบ
- เป็นรูปแบบหรือลักษณะที่เราชอบ
- ทำให้เทรดในแบบที่เข้ากับตัวเองได้
- เทรดแล้ว % ชนะสูง ได้ PIP เยอะ
- 4. สามารถ ใส่ Lot ได้อย่างมั่นใจ
6.ใช้ Indicator ตัวนั้นแล้ว รอ Take Profit หรือ Cut Loss โดยที่ใจไม่แกว่ง
Phase 2 ทำให้ simple
การเทรดไม่ควรทำอะไรที่ซับซ้อน เพราะในเวลาเทรด เราจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าโอกาสมาแล้วไม่รีบเข้า ราคาจะวิ่งออกห่าง ทำให้ค่าRisk/Rewardแย่ลงเรื่อยๆ
เพราะฉะนั้น เมื่อผ่านphase 1 แล้วยังทําเงินไม่ได้ ควรปรับระบบการเทรดให้ใช้งานง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจเข้าเทรด
Phase 3 ฝีมือขึ้นสู่ระดับกลาง
นิยามของระดับกลางในที่นี้คือ การที่คนๆนั้นผ่านอะไรหลายๆอย่าง ผ่านความผิดพลาดมาเยอะ ทำให้เริ่มคุ้นเคยกับสภาพตลาด
ส่วนระดับสูงคือ คนที่ตอบสนองต่อความผิดพลาดได้อย่างใจเย็น เพราะการเป็นเทรดเดอร์ที่เก่งนั้นไม่มีทางลัด มีแต่ต้องสั่งสมประสบการณ์ เมื่อทุกคนผ่าน 3 phaseนี้ได้ ทุกคนจะเก่งขึ้นอย่างแน่นอน
2.2 วิธีบริหารหน้าตักทําให้ความเสี่ยงเป็นศูนย์
วิธีบริหารหน้าตักเป็น 1 ในปัจจัยที่สําคัญที่สุดเกี่ยวกับการเทรด การที่อยู่รอดในตลาดได้นั้นจําเป็นต้องมีวิธีบริหารหน้าตักที่ดีหลากหลายวิธีเพื่อเลือกใช้ให้เข้ากับสภาพตลาดในแต่ละช่วง
ก่อนอื่นจะสอนเรื่องวิธีการเลือกLot size
ปกติให้เทรดที่ความเสี่ยง 2-5% (อย่างเช่น มีเงินในพอร์ต 100 บาท เมื่อดูโพสิชั่นที่ถืออยู่โดยรวมและคำนวณระยะCut lossกับLot size จะต้องไม่เกิน 2-5 บาท) ถ้าเป็นมือใหม่เทรด 2% ทุกครั้งก็ได้
ถ้ามั่นใจว่าตรงตามระบบ และตัวเองเริ่มดูตลาดเป็นแล้ว สามารถเพิ่มเป็น 5-10%
ถ้าคิดว่าเป็นโอกาสทอง ตรงตามระบบและมีหลายปัจจัยสนับสนุน สามารถเพิ่มเป็น 20%
***ข้อควรระวังคือ การเทรดเกิน 20% มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ล้างพอร์ต เพราะเวลาเสียหนักๆ จะทำให้ใจเราไม่นิ่ง ส่งผลให้เทรดได้ไม่ดีเหมือนเดิม อีกทั้ง การจะทําให้พอร์ตกลับมาเท่าเดิม ต้องใช้เวลามากกว่าตอนที่เสีย
ต่อจากนี้จะเป็นการอธิบายวิธีการบริหารหน้าตักให้ความเสี่ยงเป็นศูนย์
- เวลาเข้าออเดอร์หรือโพสิชั่น ให้แบ่งเป็น 2 ไม้เสมอ อย่างเช่น ถ้าเราอยากเข้าlot 0.1 ให้แบ่งเข้าเป็น0.05 2 ไม้ในราคาเดียวกันแทน ถ้าอยากเข้า 0.06 ก็แบ่งเป็น 0.03 ไม้ในราคาเดียวกัน
- เมื่อแบ่งเป็น 2 ไม้แล้ว ไม้แรกให้ตั้งTake profitไว้ในจุดที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก ส่วนไม้ที่ 2 ให้ตั้งในระยะที่เท่ากับCut loss หรือก็คือตั้งไว้ให้ได้ค่าR 1:1 เช่น จุดที่เข้าตั้งCut lossไว้ 10 Pip เท่ากับว่าTake profitของไม้ที่ 2 คือ 10 pip
ข้อดีของวิธีการบิรหารหน้าตักนี้
คือการที่เพิ่มความเป็นไปได้ในการเทรดของเรา จากที่มีแค่ได้กับเสีย จะกลายเป็นได้ เสีย และเท่าทุน
ในกรณีที่ไม้ที่ 2 ติดTake profit แต่ไม้แรกไปไม่ถึงแล้ววิ่งกลับมาโดนCut loss ผลกำไรขาดทุนที่ได้โดยรวมจะเท่ากับ 0 หรือก็คือไม่เสียเงิน
ในกรณีที่ทั้ง 2 ไม้ได้กำไร ถึงแม้จะได้เงินน้อยกว่าการเข้าแบบที่ตั้งใจไว้ (ไม่แบ่งออเดอร์และตั้งTake profitมากกว่าR1) แต่วิธีการบริหารหน้าตักนี้จะทำให้โอกาสเสียเงินของเราลดลงอย่างเห็นได้ชัด
2.4 Price Action ของแท่งเทียน พื้นฐาน
กราฟแท่งเทียน (Candle stick) คือ 1 ในรูปแบบการแสดงราคาตลาดที่เป็นที่นิยมที่สุด เพราะให้ข้อมูลที่ชัดเจนและมีIndicator, Patternหลายตัวที่สามารใช้ควบคู่กับกราฟรูปแบบแท่งเทียนได้
รูปแบบแท่งเทียนจะแบ่งเป็นแท่งเทียนขาขึ้น (สีเขียว) และแท่งเทียนขาลง (สีแดง) โดยมีองค์ประกอบดังนี้
- ราคาเปิด (Open price) คือราคาเริ่มต้นของแท่งเทียนนั้นๆ ซึ่งจะเป็นราคาเดียวกับราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้านี้
- ราคาปิด (Close price) คือราคาสุดท้ายของแท่งเทียนนั้นๆ ก่อนที่แท่งเทียนนั้นจะหยุดเคลื่อนไหวและเริ่มแท่งเทียนใหม่
ในกรณีที่เป็นแท่งเทียนล่าสุด ราคาปิดจะเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาของ เช่น กราฟTimefram 4H (4 Hourหรือ4 ชั่วโมง) แท่งเทียนก็จะปิดราคาและขึ้นแท่งเทียนใหม่ในทุกๆ 4 ชั่วโมง
- เนื้อเทียน (Body) คือช่วงราคาระหว่างราคาเปิดและราคาปิดของแท่งเทียน
- ราคาสูงสุด (High) คือราคาสูงสุดที่แท่งเทียนดังกล่าววิ่งขึ้นไปได้
- ราคาต่ำสุด (Low) คือราคาต่ำสุดที่แท่งเทียนดังกล่าววิ่งลงไปได้
เมื่อราคาวิ่งไปยังราคาสูงสุดแล้วกลับลงมาปิดราคาต่ำกว่าจุดสูงสุด หรือ ราคาวิ่งไปยังราคาต่ำสุดแล้วกลับขึ้นมาปิดราคาสูกว่าจุดต่ำสุด จะทำให้เกิดรูปแบบเส้นผอมที่เป็นช่วงราคาระหว่างเนื้อเทียนและราคาสูงสุดหรือราคาต่ำสุด ซึ่งจะเรียกว่า “ไส้เทียน”
กลไกการเกิดของแท่งเทียนคือ เวลาแท่งเทียนก่อตัวจากล่างขึ้นบน low to high จะทำให้เกิดแท่งเทียนขาขึ้น เวลาแท่งเทียนก่อตัวจากบนลงล่าง high to low จะทำให้เกิดแท่งเทียนขาลง ถ้าไม่มีแรงขายจากฝั่งตรงข้ามลงมา จะทำให้แท่งเทียนนั้นๆ มีแต่ตัว Body ไม่มีไส้เทียน แต่ถ้ามีแรงด้านตรงข้าม ก็จะทำให้เกิดไส้เทียน
การแข่งกันระหว่างแรงซื้อและแรงขาย ทำให้เกิดแท่งเทียนหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแท่งเทียนในแต่ละรูปแบบสามารถบ่งบอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของแรงซื้อแรงขาย ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่าพฤติกรรมราคา หรือ “Price action” ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบ
ต่อมาจะขอยกตัวอย่างPrice Actionบางตัว
ตัวอย่างแรก Big Bullish Candlestick / Big Bearish Candlestick หรือแท่งเทียนmarubozu
แท่งเทียนในลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเทรดเดอร์ในตลาดมีความต้องการซื้อหรือความต้องการขายด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน ทำให้ราคาเปิดเท่ากับราคาต่ำสุด และ ราคาปิดเท่ากับราคาสูงสุด
ตัวอย่างที่2 พวก Hammer, Shooting star, Pinbar
เป็นแท่งเทียนที่มีไส้เทียนยาว สื่อถึงตอนแรกราคาเปิดวิ่งไปด้านใดด้านหนึ่งอย่างแรง ก่อนที่จะวิ่งกลับมาอยากรุนแรงจนเกิดเป็นไส้เทียนยาว ซึ่งแท่งเทียนแบบนี้มักจะสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงของแรงซื้อขาย และเมื่อเกิดที่แนวรับแนวต้าน จะมีโอกาสเป็นจุดกลับตัวสูง แต่ก็มีโอกาสเป็น Fake ได้เช่นกัน
สิ่งที่สําคัญ คือ เวลาจะใช้Price action จะต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่นแนวรับแนวต้าน โซนราคาสูงตํ่า หรือปัจจัยอื่นๆเป็นต้น เพื่อประสิทธิภาพการเทรดที่ดีที่สุด
2.5 MA + Role reversal
สำหรับ MEC Zone ในส่วนของ M, จะมีเรื่องเพิ่มขึ้นมาคือเรื่อง Role Reversal ซึ่งเป็นการใช้ความรู้เรื่องPrice actionเพื่อหาจุดกลับตัวของราคาที่ชัดเจน
นิยามของ Dead cross และ Golden cross
- Dead Cross : คือสัญญาณที่ ในตอนที่เป็นขาขึ้น เมื่อเส้น MA ระยะสั้นตัดเส้น MA ระยะยาว จากบนลงล่าง สื่อว่าตอนนี้มีโอกาสที่เทรนจะกลับตัวเป็นขาลง
- Golden Cross : คือสัญญาณที่ ในตอนที่เป็นขาลง เมื่อเส้น MA ระยะสั้นตัดเส้น MA ระยะยาว จากล่างขึ้นบน สื่อว่าตอนนี้มีโอกาสที่เทรนจะกลับตัวเป็นขาขึ้น
แต่ระบบMEC Zone จะเน้นการใข้Role reversal ในการหาจุดกลับตัวของเทรน เพราะเป็นสัญญาณที่ให้จุดซื้อขายที่ดีกว่า Dead cross และ Golden cross
ความหมายของ role reversal คือ สถานการณ์ที่เส้นMAที่ถูกชนบ่อยที่สุด หรือ เป็นเส้นMAที่ทำหน้าที่เป็นจุดพักตัวที่ทำNew High หรือ New low, ถูกBreak out และเมื่อราคาวิ่งกลับมาหาที่เส้นMAดังกล่าว เส้นMAดังกล่าวก็ทำหน้าที่ตรงข้ามกับหน้าที่ก่อนหน้านี้ (จากแนวรับเป็นแนวต้าน หรือ แนวต้านเป็นแนวรับ) แล้วสะท้อนราคากลับไป
วิธีการใช้ก็มีดังนี้
- มองหาเส้นMAที่ถูกชนบ่อยที่สุด
- หาPattern และรอให้เกิดการBreak out
- หาจุดซ้อนกันของเส้นMAที่ชนบ่อยที่สุด และ Neck LineของPattern นั่นคือจุดซื้อขายที่ดีที่สุด
เมื่อเทียบกันกับ Dead cross และ Golden cross ทั้งๆที่ จุดซื้อขายอยู่ในละแวกเดียวกัน แต่จุดCut lossของRole reversalจะใกล้กว่า ทำให้ค่า R ดีกว่าการเข้าด้วย Golden cross เป็นอย่างมาก