สรุปเนื้อหาปลายภาค
สรุปเดือน4 ครึ่งหลัง
4.6 4วิธีเพิ่มเปอร์เซ็นต์ชนะและเพิ่มpip ด้วย Setup
Setup คือ สถานการณ์หรือสภาพตลาดที่ Technical analysis จะมีโอกาสทํางานหรือได้ผลมากที่สุด
พวกTechnical analysis หรือ Indicator ไม่สามารถใช้ได้กับทุกสภาพตลาด
เราต้องมีสกิลในการแยกแยะว่าสภาพตลาดแบบไหนต้องใช้ Indicator ตัวไหนถึงจะได้ผล และตัวไหนบ้างที่ใช้ไม่ได้ผล สิ่งนี้สําคัญมาก เพราะถ้าไม่รู้สิ่งนี้ แล้วหลับหูหลับตาเชื่อว่า Technical analysis หรือ Indicator ที่ใช้อยู่ สามารถใช้ได้ผลตลอด ความเชื่อแบบนี้จะทำให้เราใส่ lot เยอะขึ้น แล้วจะนํามาสู่การเสียเงินนั่นเอง
4 วิธีตามหาsetupที่ดี
- หา setup ที่ดีที่สุดด้วยทฎษฏีดาว
สรุปสั้นๆ คือ ตราบใดที่ราคายังไม่ทะลุจุดพักตัวที่ทํา New high หรือ New low เทรนก็จะยังวิ่งต่อไป และเราก็ควรเทรดตามเทรนใหญ่ต่อไป
- รู้ว่าเทรนวิ่งทิศทางใด
จะวิธีไหนก็ได้ สำหรับ JSP จะแนะนำให้ใช้ MEC zone system ส่วนที่เป็น C (Channel line) ซึ่งใช้เป็นตัวยืนยันเทรนของตลาด และการเทรดตามเทรนจะทำให้เราได้เปรียบในการเทรดมากขึ้น
- เข้าใจเทรนระยะยาว กลาง สั้น
การที่เข้าใจว่าเทรนในตลาดมี 3 ระยะและกราฟที่ตัวเองดูอยู่นั้นเป็นเทรนระยะไหน เป็นสิ่งที่สําคัญมากสําหรับการเทรด
ทาง JSP จะกำหนดไว้ว่าเทรนระยะยาวเป็นไทม์เฟรม week, day เทรนระยะกลางเป็นไทม์เฟรม 4H เทรนระยะสั้นเป็นไทม์เฟรม 1Hลงไป และอีกหนึ่งอย่างที่ทุกคนควรให้ความสําคัญคือ ควรรู้ว่าตัวเองเล็งคลื่นระยะไหนอยู่นั่นเอง เพราะจะช่วยตัดความโลภและความลังเลในการวางCut loss และ Take profit
- ถ้าเทรนหลายระยะหันไปทางเดียวกัน ถือว่าได้เปรียบมากยิ่งขึ้น
สมมุติว่าคุณเป็น Day trader อยากจะเข้าbuy แล้วเล็งเทรนระยะสั้นอยู่ เลยดูกราฟไทม์เฟรมที่ตํ่ากว่า 1H
แล้วไปดูไทม์เฟรม 4H ซึ่งเป็นเทรนระยะกลาง แล้วเห็นว่าเป็นขาขึ้นเหมือนกัน สถานการณ์แบบนี้ถือว่าได้เปรียบมากกว่าเป็นขาขึ้นแค่เทรนระยะเดียว
และถ้าเงื่อนไขเมื่อกี้ มีเทรนระยะยาว ( ไทม์เฟรม week, day ) เป็นขาขึ้นเหมือนกัน จะทำให้ยิ่งได้เปรียบมากขึ้นไปอีก
4.7 MEC Zone system ฉบับสมบูรณ์ part 3
จากนี้คือระบบการเทรด MEC Zone system แบบสมบูรณ์ 100%
ในเดือนก่อนได้บอกว่า สาย Day trade หรือ Swing Trade สิ่งที่แตกต่าง คือระยะเวลาการถือออเดอร์เท่านั้นเอง
ดังนั้นสิ่งที่อยากจะแนะนำในบทนี้ คือ ความสำคัญของการวิเคราะห์ตั้งแต่ไทม์เฟรมใหญ่ Week Day 4H ก่อน แล้วนำมาตัดสินใจวางแผนว่าคู่เงินไหนจะเทรด Day trade หรือ Swing trade ดูว่าคู่เงินที่วิเคราะห์นั้นมีโอกาสถือได้ยาวแค่ไหน โดยวัดจาก C ดูค่า Volatility ในไทม์เฟรมใหญ่ก่อน หรือ ดูว่าในไทม์เฟรมเล็กตอนนี้เป็นคลื่น 2-3 หรือ 4-5 ของ Elliot wave แล้ว หรือยัง
สรุปคือ แทนที่จะเลือกเทรดแค่ Day trade หรือ Swing trade เพียงอย่างเดียว เราควรเลือกรูปแบบการเทรดให้เหมาะสมกับตลาดแต่ละคู่เงินเพื่อประสิทธิภาพการเทรดที่ดีที่สุด
ต่อไปจะสาธิตทบทวนวิธีการเทรด MEC zone system
Step 1 ก่อนเข้าซื้อขาย วาด C (Channel line) และ E (Elliot wave) ในไทม์เฟรม Day / 4H เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม เพื่อภาพรวมของตลาด
สำหรับ Swing trade ให้เช็คว่าจุดที่เราจะเข้าเป็นคลื่น 2-3 / 4-5 ของไทม์เฟรม 4H หรือไม่
Step 2 วาด E ในไทม์เฟรม 1H
Step 3 ตี Fibonacci retracement แล้วปรับยอดของคลื่น 2-3 (เลข 3) ไว้ที่ 161.8 ของFibonacci retracement
ปรับยอดของคลื่น 4-5 (เลข 5) ไว้ที่ 200 ของFibonacci retracement
Step 4 มองหาเส้น MA ที่ราคาชนบ่อย หรือ Role reversal รอให้ราคากลับมาชนเส้น MA นี้อีกครั้ง แล้วเตรียมเข้าซื้อขาย
Step 5 ไปดูไทม์เฟรม 5M ตี C
Step 6 มองหาแพทเทิร์นกลับตัว (Double bottom, Head & Shoulder เป็นต้น) หรือ Side way
Step 7 รอให้เกิด Break out Neck line ของแพทเทิร์น หรือ C แล้วรอให้เกิดคลื่น 0-1 ในไทม์เฟรม 5M จากนั้นตี Fibonacci retracement
Step 8 กรณีที่เข้าด้วยMarket order เมื่อราคามาถึง 61.8 / 38.2 ของ Fibonacci retracement และจุดเลข 2 ของ Elliot wave ในไทม์เฟรม 5M ที่ซ้อนกันกับขอบ C ในไทม์เฟรม 5M หรือ ตรงกับ MA ที่ชนกันบ่อยๆ ก็สามารถเข้าซื้อขายได้เลย
ขอแค่มีอย่างน้อย 2 ปัจจัย ก็คือขอบ C หรือ MA ที่อยู่ใน Fibonacci box space ก็ถือว่าโอเค
เมื่อมี 3 ปัจจัย คลื่น 2-3 + ขอบ C + MA ที่ชนบ่อยๆ หรือ MA ที่เกิด Role reversal ทั้ง 3 ปัจจัยทับซ้อนกัน จะถือว่าเป็นโอกาสทอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถเพิ่ม Lot size / เพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้น
กรณีที่เข้าด้วย Limit order เมื่อเกิดคลื่น 0-1 แล้ว ให้วาง Buy limit ก่อน 61.8 2pip / Sell limit ก่อน 50 2pip
ถ้ามีกรณีที่ 38.2 / 50 ของ Fibonacci retracement ซ้อนกันกับขอบ C ก็แนะนำให้ตั้ง Buy Limit /Sell Limit ที่ตรงนั้นได้เลย
Step 9 กรณีขาBuy ตั้งจุด Cut loss ที่ Half 23 ของ Fibonacci / กรณีขาSell ตั้งจุด Cut loss ที่ Half 78 ของ Fibonacci
Step 10 กรณีที่เข้าด้วยคลื่น 2-3 โดยวัดจากคลื่น 0-1 ตั้งจุด Take profit ที่ 161.8 / กรณีที่เข้าด้วยคลื่น 4-5 โดยวัดจากคลื่น 2-3 ตั้งจุด Take profit ที่ 138.2
Step 11 พอหมด5คลื่น ก็ไปหาคู่เงินอื่นจนกว่าจะนับคลื่น 0-1 ได้
การย่อดูไทม์เฟรมที่เล็กกว่า หรือ การขยายไปดูไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า ทำให้สามารถหาจุดเข้าที่ดีกว่า การดูในไทม์เฟรมเดียวได้
4.8 3 เหตุผลที่ JSP Forex ไม่แนะนําให้เทรดด้วยข่าว (Fundamental analysis)
Fundamental analysis หรือ ปัจจัยด้านข่าว เป็นสิ่งสําคัญมากในการเทรด แต่ JSP Forex ไม่เคยเอามาเป็นปัจจัยในการเทรดฟอเร็กส์ เพราะมีเหตุผลดังต่อไปนี้
- กราฟแท่งเทียนสะท้อนปัจจัยทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว ทฤษฎีดาว อธิบายไว้ว่าเรตราคาบนกราฟสะท้อนทุกปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดไว้แล้ว
ทาง JSP Forex เชื่อว่าการเทรดแบบ Technical analysis ดูแค่แท่งเทียน เทรดตามหลักสถิติศาสตร์ตามข้อมูลในอดีต เป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการทําเงินกับForex
อีกทั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อราคาของ Forex มีมากกว่าสินค้าการเทรดประเภทอื่น จึงคาดเดาการเคลื่อนไหวจากข้อมูลข่าวอย่างเดียวได้ยาก
2.. ทํา Back test ยาก
พวกเราเชื่อว่าเราจะทํากำไรได้ดีกับกราฟปัจจุบัน หากเจอสถานการณ์ที่เหมือนกันกับตอนซ้อม (Back test)
การเทรด คือ การทําตามสิ่งที่ซ้อมมาตอน Back test ในการเทรดจริงให้ได้ก็แค่นั้น ตอนทํา back test เราไม่ได้คํานึงถึงปัจจัยด้านข่าว เพราะฉะนั้นสรุปคือ อะไรที่ไม่ได้ทําตอนซ้อม ตอนเทรดจริงก็ไม่ควรทํา
- ประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์เก่งกับการเทรดเก่งนั้นเป็นคนละเรื่องกัน ข้อมูลด้านข่าวไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าราคาจะวิ่งไปทางไหน ไกลแค่ไหน พักตัวเมื่อไหร่ โดยเฉพาะForexที่มีปัจจัยหลายปัจจัยในการกำหนดราคา ทำให้แม้ว่าจะมีข่าวใหญ่ที่ชัดเจน แต่อาจจะมีข้อมูลอื่นที่เราไม่รู้กดราคาไม่ให้วิ่งไปตามข่าวใหญ่ได้ และความไม่แน่นอนเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่สามารถทำกำไรได้ในระยะยาว
แน่นอนว่า ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเทรดเดอร์ที่เทรดด้วยข่าวเพียงอย่างเดียว แต่ทาง JSP คิดว่าเราควรมีปัจจัยหรือองค์ประกอบต่างๆ ในการตัดสินใจเทรด เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเทรด
4.9 MEC Zone system ฉบับสมบูรณ์ part 4
ใน Part สุดท้ายนี้ จะมาสาธิตวิธีการทำอย่างไรถึงจะหาคู่เงินที่เหมาะสมกับระบบการเทรด MEC Zone
สิ่งที่โค้ชชิทำทุกๆครั้งหลังทบทวนการเทรดประจำสัปดาห์เสร็จ คือการสร้างแผนการเทรดในสัปดาห์ถัดไป หรือก็คือการสร้าง Scenario
ซึ่งบทนี้จะมาสอนการสร้าง Scenario โดยละเอียดตั้งแต่แรก จนถึง ขั้นตอนการคัดเลือกคู่เงิน การวิเคราะห์สภาพตลาด
ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
- โดยปกติแล้ว โค้ชชิจะเฝ้าคู่เงินอยู่ทั้งหมด 28 คู่เงิน ทุกๆวันเสาร์ โค้ชชิจะหาเวลาเพื่อดู Scenario ของคู่เงินเหล่านั้น
เริ่มจาก ให้เรากำหนดเวลาที่สะดวกช่วงเสาร์-อาทิตย์ (วันที่ตลาดปิดทำการ) มาวิเคราะห์ตลาดและสร้าง Scenario ของสัปดาห์ถัดไป (ควรทำให้เป็นกิจนิสัย)
- การสร้าง Scenario เริ่มจากไทม์เฟรม Day ตี Channel line และ Elliot wave จากนั้นตี Fibonacci retracementเพื่อปรับยอดคลื่น 2-3 / 4-5 ของ Elliot wave (ตามระบบ MEC zone system) เสร็จแล้วก็ทำแบบเดียวกันในไทม์เฟรม 4H
เมื่อไหร่ที่พบว่ามีคู่เงินที่ในไทม์เฟรม 4H เป็นคลื่น 2-3 หรือ 4-5 ก็จะกด Mark หรือกำกับสี (สีเขียวในกรณีขาBuy / สีแดงในกรณีขาSell) ที่คู่เงินดังกล่าว
คนที่ไม่ได้ใช้ Tradingview แบบเสียเงิน อาจจะกำกับสีเดียวแล้วจดบันทึกไว้ว่าคู่เงินไหนจะเข้าBuy/Sell
- ในคู่เงินที่มีแววเป็นคลื่น 2-3 หรือ 4-5 ในไทม์เฟรม 1H ให้ตี Channel line และ Elliot wave จากนั้นตี Fibonacci retracementเพื่อปรับยอดคลื่น 2-3 / 4-5 ของ Elliot wave (ตามระบบ MEC zone system) ในไทม์เฟรม 1H และ 5M
- พอถึงวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป (หรือวันแรกที่ตลาดเปิดของสัปดาห์ถัดไป) ดูแค่คู่เงินที่กำกับสีไว้ก็พอ เพราะเราไม่สามารถเฝ้าทุกคู่เงิน ทุกวันได้
- เมื่อไหร่ที่มี Price Action ตรงกับคลื่น 2-3 ให้ตั้งแจ้งเตือนไว้ ซึ่งจุดนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าแบบ Market order หรือ Limit order (ตามระบบ MEC zone system)
ในกรณีที่ราคาวิ่งไปไม่ถึงโซนราคาที่มองไว้ (Fibonacci box space, Channel line เป็นต้น) ให้เรารอก่อน เพราะการเทรดต้องโฟกัสระยะยาว การที่ราคาไปไม่ถึงจุดที่วางแผนไว้ แสดงว่าราคาปัจจุบันไม่ใช่ราคาที่ดีที่สุด ก็รอไปก่อนหรือหาคู่เงินอื่น การรอ คือ Mind set ที่สำคัญมาก